ทฤษฎีการคิดและกลยุทธ์ในการประเมินพัฒนาการเด็กนั้นมีมากมาย ยกตัวอย่างในเรื่องกลยุทธ์ของภาคปฏิบัติ ในการเรียนการสอนของครูและนักศึกษาในห้อง ร่วมกันทดลอง ทฤษฎีสมคบคิด ในสิ่งที่เรียนโดยพวกเขาตกลงกันว่าจะลองควบคุมพฤติกรรมของครูผู้สอน โดยการลองบังคับให้เขาเดินไปทางซ้ายหรือทางขวาของหน้าหน้าห้องโดยใช้วิธีง่ายๆ
เริ่มต้นด้วยการตกลงกันว่า เวลาครูเดินไปทางขวา พวกเขาจะทำท่าทางตั้งอกตั้งใจเรียน เช่น มองที่ผู้สอนตลอดเวลา หยุดคุยเล่น เก็บโทรศัพท์ และเตรียมยกมือตอบคำถาม และในทางกลับกันนั้น เมื่อเวลาครูเดินไปทางซ้ายพวกเขาก็จะทำท่าไม่สนใจเรียน เช่น ก้มหน้าก้มตากับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เอามือถือออกมาเล่น คุยกันบ้าง มองออกไปนอกห้องบ้าง มีคำถามก็นั่งนิ่งไม่ยกมือไม่สนใจ
เมื่อทำแบบนี้ไปได้สักพัก นักเรียนกลุ่มนี้พบว่าพวกเขาสามารถควบคุมพฤติกรรมการเดินของครูได้เหมือนเล่นรถบังคับทีเดียว เพียงแค่แปรอักษรการ Feedback ให้ตรงกัน เพื่อบังคับให้ครูเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาได้ตามสั่ง จนหลายครั้งเกือบจะตกเวที และในการทดลองตีกลับพฤติกรรมนี้ ก็ไม่มีบันทึกไว้ว่าพวกเขาได้เกรด A ในวิชานี้หรือเปล่า
แต่เราได้ข้อคิดที่การทดลองของเด็กกลุ่มนี้ ได้บอกเราก็คือหากคุณให้คำตอบของสมองอย่างรวดเร็ว มันพร้อมจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่คุณต้องการ แต่หากคุณช้าหรือคุณใช้เวลาตอบกลับนาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบนี้จะไม่เกิดขึ้น
โดยกลุ่มนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ พบว่าเขาสามารถฝึกนกพิราบให้หยิบของไปใส่ตะกร้าได้ด้วยการกระตุ้นทันทีเมื่อมันทำผิด แต่ถ้าเขาปล่อยให้เวลาผ่านไปเพียง 10 วินาที การเปลี่ยนพฤติกรรมจะไม่เกิด คล้ายว่าสมองความจำสั้น เมื่อการลงโทษเกิดขึ้นห่างจากเหตุการณ์ดังกล่าว มันไม่ปะติดปะต่อแล้วว่าสองเรื่องนี้เกี่ยวข้องกัน หลักการนี้ใช้กับการฝึกสัตว์ได้เกือบทุกชนิด
Dr. John Medina แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการสมองเล่าถึงโมเดล F.I.R.S.T. ที่เป็นวิธีการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ลองดูกันสักนิด
ข้อคิดสำหรับผู้นำ หรือผู้ฝึกสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพัฒนาการเด็ก
Firm คือ ผู้ถูกลงโทษต้องรู้สึกว่ากำลังถูกลงโทษ
Immediate คือ การลงโทษต้องเกิดขึ้นทันทีหลังก่อความผิด
Reliable คือ บทลงโทษต้องชัดเจน สม่ำเสมอ เป็นไปตามกติกา
Safe คือ ผู้ถูกลงโทษต้องรู้สึกปลอดภัย ไม่ถูกคุกคามทางร่างกายและอารมณ์
Tolerant คือ ผู้ลงโทษต้องให้เวลาการปรับพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
การขาดข้อหนึ่งข้อใดไปอาจทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนใกล้ตัวไม่ประสบผลสำเร็จ บางทีเราตกข้อแรกคือ Firm เช่น ลูกน้องหลายคนรอให้หัวหน้าเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความคิด โดยไม่เคยเปิดใจบอกเขาไปตรงๆ ว่าสิ่งที่เค้าทำอยู่นั้นไม่โอ หรือหัวหน้าตกข้อ Reliable คือ ลงโทษโดยไม่มีหลักการที่ชัดเจน บางครั้งลูกน้องคนหนึ่งทำแบบนี้ไม่เป็นไร แต่บางคนในบางครั้งทำแบบนี้กลับถูกตำหนิหรือลงโทษ รวมถึงอาการสุดคลาสสิคคือ ให้ลูกน้องเห็นว่าสิ่งที่โดนทำโทษนั้นไม่ดี แต่ตัวเองก็ทำ (เปรียบเหมือนแม่ปูสอนลูกปูให้เดิน)
หากลูกศิษย์ยังเปลี่ยนอาจารย์ได้ แล้วทำไมลูกน้องจะเปลี่ยนหัวหน้าไม่ได้ ลองทำแบบที่นักเรียนกลุ่มข้างต้นทำดู เวลาหัวหน้าทำอะไรที่ถูกใจ คุณก็ตอบสนองด้วยพฤติกรรมที่เขาชอบ เช่นชมหัวหน้าบ้าง ยิ้มให้บ้าง ชวนไปกินข้าวกลางวันบ้าง เวลาที่เขาทำอะไรไม่ถูกใจ ก็หน้าบึ้งใส่ หรือแกล้งทำเป็นไม่สนใจ ส่วนหัวหน้าบางคนที่รู้สึกว่าลูกน้องไม่เคยชวนไปกินข้าวด้วยเลย ไปเต็นท์ก็ไม่เคยซื้อของมาฝาก ลองกลับไปคิดดูว่าพวกเขากำลังให้ฟีดแบ็คเราทางอ้อมหรือเปล่า แต่หากหัวหน้าเป็นเจ้าของบริษัท มันก็เสี่ยงอยู่เหมือนกันที่จะโดนตอกกลับ
ข้อคิดจากเรื่องนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เราเห็นเสมอๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์หรือการคาดโทษในองค์กรอาจไม่ใช่วิธีที่ดีนัก ยิ่งหากผู้กระทำผิดไม่รู้สึกว่ากำลังถูกลงโทษ และไม่รับรู้ว่าสังคมมีกติกาที่เคร่งครัดชัดเจนไม่เลือกปฏิบัติอย่างไร การที่สมองของคนทำผิดจะปรับพฤติกรรมตัวเองนั้นแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เช่นการห้ามทิ้งขยะและมีป้ายปรับ ทำไมคนถึงยังคงทำอยู่ ก็เพราะไม่มีคนปรับจริงๆ หรือการห้ามสูบบุหรี่ในบางสถานที่ก็ยังคงมีคนอุตริสูบ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยพัฒนาการด้านสมองนี้ สามารถใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กปฐมวัย ได้เป็นอย่างดี เพื่อที่เค้าจะเติบโตขึ้นมาได้อย่างมีคุณภาพ เพราะพฤติกรรมของเด็กยังคงสามารถควบคุมได้ง่ายไม่เหมือนของผู้ใหญ่บางคน